fbpx

3 วิธีตำหนิลูกอย่างสร้างสรรค์

3 วิธีตำหนิลูกอย่างสร้างสรรค์

อย่าลืมว่าการที่เราตำหนิก็เพื่อให้ลูกเกิดการเรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง และไม่ทำผิดซ้ำอีก และวิธีตำหนิลูกอย่างสร้างสรรค์ก็ทำได้ไม่ยากเลยค่ะ

1. ถ้าลูกทำผิดให้ตำหนิพฤติกรรมที่เขาทำ แต่ไม่ตำหนิที่ตัวตนของเขา เช่น ลูกลอกการบ้านเพื่อน พูดคำหยาบ แกล้งเพื่อน หรือขโมยของเพื่อน แม่ไม่ควรพูดว่า “ลูกแย่มากที่ทำตัวแบบนี้” แต่ควรพูดว่า “แม่เสียใจที่ลูกทำแบบนี้กับเพื่อน และเพื่อนก็คงเสียใจเช่นกัน” เพราะการตำหนิที่พฤติกรรม แสดงให้เห็นว่า เราไม่ชอบ ไม่ยอมรับในพฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่น่ารักของเขา ไม่ได้แปลว่า เราไม่ยอมรับในตัวตนของเขาหรือไม่รักเขา

2. ถ้าลูกทำผิดให้โอกาสเขาได้อธิบายเหตุผลให้เราฟังก่อน  อย่าเพิ่งต่อว่าที่เขาโกหก (แม้เราจะรู้ว่าเขากำลังโกหกอยู่ก็ตาม) เพราะหากทำเช่นนี้เท่ากับเราไม่เปิดใจรับฟังเขา  ลูกจะคิดว่าพ่อแม่ไม่มีเหตุผล และในครั้งต่อๆ ไปก็จะไม่อยากอธิบายหรือเล่าอะไรให้เราฟังอีก  อาจส่งผลให้เด็กเกิดการต่อต้านมากขึ้นค่ะ

3. ไม่ตำหนิหรือเปรียบเทียบลูกต่อหน้าคนอื่น  เพราะเด็กจะรู้สึกเสียหน้าและอาย  เช่น เมื่อลูกสอบตก ไม่ควรพูดว่า “เรื่องแค่นี้ ทำไมลูกทำไม่ได้ ทีเพื่อนคนอื่นยังทำได้เลย” “ทำไมลูกโง่อย่างนี้” ฯลฯ คำพูดเช่นนี้จะยิ่งทำให้ลูกขาดความเชื่อมั่นและนับถือตนเอง  ขณะเดียวกันหากลูกทำดีก็ควรชื่นชมและให้กำลังใจ ลูกจะได้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า

คำพูดอ่อนโยนแสดงความห่วงใยของพ่อแม่ที่อยากให้ลูกเป็นเด็กดี เด็กน่ารักมีส่วนสำคัญต่อพฤติกรรมของเด็กๆ มากค่ะ พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็นว่าวิธีแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผล ใช้คำพูดที่สร้างสรรค์พูดคุยกันย่อมดีกว่าการใช้อารมณ์เกรี้ยวกราด  เด็กจะเกิดการเลียนแบบและนำไปใช้กับผู้อื่น  เป็นพฤติกรรมดีๆ ที่จะติดตัวเขาไปจนโตค่ะ

————————————————————–

“ช้างน้อยไม่อยากเป็นช้าง” นิทานก่อนนอน ที่นายแพทย์ประเสริฐแนะนำให้อ่าน ปลูกฝังความรักความผูกพันระหว่างแม่ลูก สอนให้รู้จักพึงพอใจในสิ่งที่ตนเป็น พัฒนาทักษะ EF หนังสือสำหรับเด็ก 4-6 ปี