Pass Education Co.,Ltd
โดยปกติจะตอบกลับภายในไม่กี่ชั่วโมง
พาส เอ็ดดูเคชั่น สวัสดีจ้า
เริ่มแชท

สอนลูกอย่างไร เมื่อลูกต้องพบความสูญเสีย

สอนลูกอย่างไร เมื่อลูกต้องพบความสูญเสีย

สอนลูกอย่างไร เมื่อลูกต้องพบความสูญเสีย

เกิดแก่เจ็บตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ทุกคนต้องเจอ ความตาย การจากไปอย่างไม่มีวันกลับเป็นเรื่องใกล้ตัว แต่เรากลับพยายามเลี่ยงที่จะพูดถึง เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกเศร้าโศกเสียใจ แต่เมื่อถึงวันที่เราต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก หรือแม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงแสนรักตายไป เราจะก้าวผ่านความเศร้าโศกไปได้อย่างไร หากไม่เคยเตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับความสูญเสีย ดังนั้น มาเรียนรู้ วิธีสอนลูกอย่างไรให้รู้จักความตาย สอนลูกอย่างไร เมื่อลูกต้องพบความสูญเสีย กันแต่เนิ่นๆ ดีกว่า

 

เทคนิคน่ารู้ สอนลูกรับมือกับความสูญเสีย

พัฒนาการด้านความคิดของเด็ก

ความตายมี 4 องค์ประกอบที่ต้องทำความเข้าใจ ได้แก่ ความตายเป็นสิ่งถาวร ไม่สามารถซ่อมแซมหรือรักษาให้ฟื้นคืนมาได้อีกแล้ว ความตายคือวาระสุดท้ายของชีวิต ร่างกายไม่ทำงานอีกต่อไป ความตายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และความตายมีสาเหตุมีที่มาที่ไปเสมอ อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจเรื่องความตายของเด็กแต่ละวัยมีความแตกต่างกัน

·         เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ยังไม่เข้าใจเรื่องความตาย คิดว่าการตายเป็นเพียงการหายไปเท่านั้น แต่จะรู้สึกเครียดและเศร้าโดยไม่รู้สาเหตุ พ่อแม่ควรให้ความรักและความเอาใจใส่เป็นพิเศษในช่วงเวลานี้

·         เด็ก 3-5 ขวบ ยังไม่เข้าใจเรื่องความตายอย่างชัดเจน ไม่เข้าใจว่าตายแล้วจะไม่ฟื้น เพราะเด็กยังเต็มไปด้วยความคิดเชิงจินตนาการ ยังไม่สามารถแยกแยะโลกความจริง กับโลกแห่งจินตนาการได้

·         เด็กอายุ 6-8 ปี รู้ว่าความตายเป็นสิ่งถาวร ตายแล้วจะไม่กลับมาอีก แต่รู้สึกว่ายังเป็นเรื่องไกลตัว ความตายจะเกิดขึ้นกับคนอื่น ไม่ใช่กับตัวเอง หรือคนใกล้ตัว

·         เด็กอายุ 9-11 ปี เริ่มเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้แต่กับคนที่เขารัก

·         เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป วัยนี้มีความเข้าใจเกี่ยวกับความตายใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ เห็นถึงสัจธรรมชีวิต และอาจเริ่มคิดถึงความหมายของชีวิต

พ่อแม่สามารถเริ่มต้นสอนให้ลูกรู้จักเรื่องความตาย  สอนลูกรับมือกับความสูญเสีย ได้โดยเชื่อมโยงให้ลูกเข้าใจเหตุผลอย่างง่ายๆ เช่น ความตายก็เหมือนกับตอนที่ของเล่นของลูกเสีย ซ่อมไม่ได้ เล่นไม่ได้เหมือนเดิมแล้ว หรือสัตว์เลี้ยงตัวโปรดไม่สบายและจากไปแล้ว พาไปให้หมอรักษาไม่ได้อีกแล้ว ไม่สามารถวิ่งเล่นกับลูกได้อีกแล้ว

ความตายไม่น่ากลัว ถ้ารู้จักพูดกับลูก

ท่าทีและคำพูดของพ่อแม่ต่อความตายต่างหาก ที่จะทำให้ลูกรู้สึกว่าความตายเป็นสิ่งน่ากลัว หากพ่อแม่บอกกับลูกด้วยท่าทีปกติ ลูกก็จะทำความเข้าใจและยอมรับการสูญเสียได้ง่ายขึ้น เช่น คุณย่าของลูกตายแล้ว ร่างกายไม่ทำงานแล้ว คุณย่าตายเพราะท่านอายุมากแล้ว ตอนนี้คุณย่าไปอยู่บนสวรรค์ ไม่กลับมาแล้ว

ลูกอาจมีคำถามเกี่ยวกับความตาย เช่น วันหนึ่งพ่อแม่ก็ต้องตายเหมือนกันใช่ไหม พ่อแม่ไม่ตายได้ไหม ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่า วันหนึ่งพ่อแม่ก็ต้องตายเหมือนกัน แต่ยังไม่ใช่ตอนนี้ พ่อแม่รักลูกมากนะและจะอยู่กับลูกให้นานที่สุด ลูกต้องเข้มแข็ง และเป็นเด็กดี คุณย่ามองลงมาจากสวรรค์ต้องดีใจมากแน่ๆ

ฝึกลูกจัดการกับความสูญเสีย

เมื่อลูกเศร้าโศกเสียใจ ควรให้เวลาลูกได้ฝึกจัดการกับอารมณ์ตัวเอง ฝึกรับมือกับความสูญเสีย และระลึกถึงสิ่งที่จากไป เช่น ชวนลูกปลูกต้นไม้ไว้ในความทรงจำตรงที่ฝังร่างของสัตว์เลี้ยง วาดภาพสัตว์เลี้ยง รวบรวมอัลบั้มรูป หรือแม้แต่เล่าเรื่องตลกๆ ของสัตว์เลี้ยงในช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกัน พูดถึงสัตว์เลี้ยงด้วยความรักเสมอ สิ่งสำคัญคือต้องบอกให้ลูกรู้ว่าความเศร้าโศกจะจางหายไป แต่ความทรงจำที่ดีและความรักจะคงอยู่ตลอดไป

เมื่อไหร่ที่ควรขอความช่วยเหลือ

เด็กแต่ละคนแสดงความโศกเศร้าได้หลายวิธี เขาอาจดูเหมือนเล่นสนุกได้ตามปกติ แต่พอได้เห็นภาพสัตว์เลี้ยงหรือบางอย่างในโทรทัศน์ที่สะกิดใจก็ทำให้ร้องไห้ออกมาได้อีก เป็นๆ หายๆ เป็นเรื่องปกติ แต่หากหากลูกยังคงโศกเศร้าอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานเกิน 1 เดือน หรือมีปัญหานอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิในการเรียน หรือมีอาการ เช่น ปวดท้อง ทั้งที่ไม่เคยเป็นมาก่อนที่สัตว์เลี้ยงจะตาย ลองถามลูกว่า ลูกอยากพูดคุยเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงที่ตายไปกับใครสักคนไหม การปรึกษาจิตแพทย์เด็กก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

อย่าเพิ่งรีบหาสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ในทันที

อย่ารีบหาสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ในทันที ปล่อยให้เวลาเยียวยาจิตใจ ซึ่งอาจใช้เวลานานถึง 6 เดือน และเด็กแต่ละคนอาจต้องการเวลามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความใกล้ชิดผูกพัน จากนั้นค่อยชวนลูกตัดสินใจเลือกของใช้ของสัตว์เลี้ยงตัวเก่า ชิ้นไหนอยากเก็บไว้ ชิ้นไหนอยากทิ้งหรือบริจาค เมื่อถึงเวลาที่ลูกพร้อม ให้ทั้งครอบครัวมีส่วนร่วมในการเลือกสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ ไม่ใช่เพื่อทดแทนตัวเก่า แต่เป็นการต้อนรับเพื่อนใหม่เข้าสู่ครอบครัวและร่วมการเดินทางครั้งใหม่ไปด้วยกัน

ใช้นิทานเป็นตัวช่วย

หานิทานที่มีเนื้อหาสอดคล้องเหตุการณ์ความสูญเสียที่ลูกกำลังเผชิญอยู่ ชวนลูกอ่านด้วยกัน หรืออ่านให้ลูกฟังว่า ตัวละครในนิทานมีวิธีจัดการกับความรู้สึกเศร้าโศกเมื่อต้องสูญเสียคนที่รัก หรือสัตว์เลี้ยงที่รักอย่างไร ลูกจะเรียนรู้ว่า ความตายเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ต้องเจอ สิ่งที่ลูกกำลังเจอ เหมือนกับที่ตัวละครกำลังเจอ แล้วเขาทำอย่างไร เราลองทำแบบเขาไหม เราจะผ่านมันไปได้เหมือนเขายังไงละ

นิทานปิงปิง ชุดสงสัย นิทาน EF สอนลูกอย่างไร เมื่อลูกต้องพบความสูญเสีย สำหรับเด็ก 2-6 ปี

ปิงปิงเข้าใจ นิทานภาพสำหรับเด็กวัย 2-6 ปี เรื่องราวของปิงปิงที่วันหนึ่งมีลูกแมวจรมาขออยู่ด้วย ปิงปิงจึงขอแม่เลี้ยงพร้อมสัญญาจะดูแลอย่างดี ปิงปิงตั้งชื่อลูกแมวว่า "ซันซัน" ตามลายสีส้มคล้ายดวงอาทิตย์ ปิงปิงดูแลซันซันอย่างดี วันหนึ่งซันซันหายไป แต่ไม่นานก็กลับมานอนซมและตาย ปิงปิงเสียใจมาก ร้องไห้เสียใจ แม่จึงปลอบและสอนให้ปิงปิงเข้าใจเรื่องความตาย

นิทานปิงปิง ชุดสงสัย นิทาน EF เรื่อง ปิงปิงเข้าใจ ช่วยพัฒนา EF ให้ลูกได้อย่างไร

·         ด้านจำเพื่อใช้งาน ปิงปิงเรียนรู้ว่าการตาย คือการที่เราจะไม่ตื่นฟื้นขึ้นมาอีกแล้ว

·         ควบคุมอารมณ์  และ ยืดหยุ่นความคิด ปิงปิงเสียใจมากที่ซันซันตาย แต่เมื่อคิดถึงช่วงเวลาที่เคยอยู่ด้วยกันปิงปิงก็ร็สึกดีขึ้น แม้ซันซันจะจากไปแล้ว แต่ความรักและความสุขที่ซันซันให้มาจะอยู่ในใจปิงปิงตลอดไป

·         มุ่งเป้าหมาย ปิงปิงสัญญากับแม่ว่า ถ้าแม่อนุญาตให้เลี้ยงซันซันได้ ปิงปิงจะดูแลซันซันอย่างดี และปิงปิงก็ทำได้ตามที่รับปากแม่ไว้

#สอนลูกรับมือกับความสูญเสีย #สอนลูกเรื่องความตาย #ปิงปิงเข้าใจ #นิทานปิงปิง #นิทานEF

ขอบคุณข้อมูลจาก เพจชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้