Pass Education Co.,Ltd
โดยปกติจะตอบกลับภายในไม่กี่ชั่วโมง
พาส เอ็ดดูเคชั่น สวัสดีจ้า
เริ่มแชท

วิธีสอนลูกเลียนแบบอย่างเหมาะสม

วิธีสอนลูกเลียนแบบอย่างเหมาะสม

12 วิธีสอนลูกเลียนแบบอย่างเหมาะสม

เด็กเรียนรู้โดยการสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่และสื่อรอบตัว เช่น อาชีพ เสื้อผ้า ทรงผม การแต่งหน้า เทคโนโลยี (เช่น การคุยโทรศัพท์และการใช้แท็บเล็ต) และแสดงบทบาทสมมติ เช่น เป็นแม่ เป็นครู เจ้าหน้าที่ดับเพลิง ฯลฯ” แต่เด็กยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งที่พวกเขาได้ยินและเห็นนั้นเหมาะสมที่จะเลียนแบบหรือไม่ เราจึงเห็นเด็กเลียนแบบคำพูดและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ตะโกนเสียงดัง พูดจาก้าวร้าว หรือขว้างปาสิ่งของ พ่อแม่จำเป็นต้องช่วยให้ลูกเรียนรู้ว่าพฤติกรรมใดที่ยอมรับ และไม่เป็นที่ยอมรับทั้งในบ้าน และในสังคมที่เขาอยู่ ด้วยวิธีสอนลูกเลียนแบบอย่างเหมาะสม

หลายครั้งคำสบถคำแรกของเด็กจะเป็นผลมาจากการเลียนแบบวิธีที่พ่อแม่แสดงความโกรธ บางทีเขาอาจได้ยินพ่อแม่พูดเมื่อมีคนขับรถตัดหน้า และตอนนี้เขาอาจกำลังเลียนแบบท่าทางและคำพูดของพ่อแม่ที่เบาะหลังก็ได้

หรือบางที เด็กโตแถวบ้านหรือบนรถโรงเรียน หรือลูกพี่ลูกน้องที่สนิทกัน หรือแม้แต่พี่น้องและสมาชิกในครอบครัวอาจมีอิทธิพลต่อลูกของคุณโดยไม่รู้ตัว

แล้วพ่อแม่จะทำให้ลูกรู้จักความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมที่ยอมรับได้และพฤติกรรมที่ไม่ควรทำได้อย่างไร

·         หากลูกพูดคำหยาบ หรือพูดจาก้าวร้าว ให้บอกกับลูกว่า “คำพูดนี้บ้านเราไม่พูดกัน เราจะไม่ใช้ในบ้านของเราหรือกับคนอื่นก็ตาม”

·         หากเป็นท่าทางที่ไม่เหมาะสม ให้บอกกับลูกว่า "ท่าทางแบบนี้ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่จะทำ"

·         หากลูกแค่พยายามใช้คำสบถหรือทำท่าทาง เพื่อกระตุ้นให้พ่อแม่สนใจหรือตื่นเต้น ให้ทำเป็นไม่สนใจ และแทนที่ด้วยทางเลือกที่สนุกและเหมาะกับเด็กมากกว่า เช่นเปิดเพลงสนุกๆ ที่ไม่มีคำหยาบ ท่าเต้นไม่ล่อแหลม ให้เขาร้องและเต้นตาม

·         หากพ่อแม่ไม่ได้แสดงความตื่นเต้น ปรบมือ ชื่นชมกับท่าทาง หรือคำพูดของเขา ทำเช่นนี้อีกสองสามครั้ง เขาจะหมดความสนใจกับพฤติกรรมนั้น หรือเข้าใจว่าท่าทางใดที่ยอมรับไม่ได้ และท่าทางใดที่พ่อแม่พอใจ

·         หากเขาทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมซ้ำๆ เช่น การตี เตะ กัด หรือขว้างของเล่น ให้ใจเย็นๆ อย่าเพิ่งโมโหใส่ลูก ให้สบตากับเขาและบอกเขาอย่างหนักแน่นว่าเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ทำพฤติกรรมนี้ เช่น หากลูกเตะเฟอร์นิเจอร์ซ้ำๆ ให้บอกลูกว่า พ่อแม่ไม่อนุญาตให้เขาทำสิ่งนี้ในบ้าน เอาลูกบอลไปให้เขาเตะข้างนอกแทน วิธีนี้ช่วยให้ลูกเห็นว่า การเตะเฟอร์นิเจอร์ไม่เป็นที่ยอมรับ แต่การเตะบอลข้างนอกนั้นไม่เป็นไร

·         ระมัดระวังการใช้สื่อของลูก เด็กอาจได้รับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมผ่านการใช้สื่อของพี่น้องที่โตกว่า เด็กควรดูทีวีไม่เกินหนึ่งหรือสองชั่วโมงต่อวัน และพ่อแม่ควรคัดกรองเฉพาะเนื้อหาที่เหมาะสมกับเด็ก ก่อนที่จะอนุญาตให้ลูกดู

·         ทุกคนในบ้านปฏิบัติต้องตามกฎเดียวกัน โดยทุกคนต้องระมัดระวังคำพูดและพฤติกรรมเมื่ออยู่กับเด็ก ไม่ให้เด็กเกิดความสับสน เช่น ลูกพี่ลูกน้องของเขานอนดึกได้ ไม่กินข้าวก็ไม่มีใครว่า แต่ทำไมเขาทำแบบนั้นบ้างไม่ได้

·         ต้องใช้เวลาและความอดทน เด็กๆ อาจพบเจอสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคยวันละหลายๆ ครั้ง เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องพูดคุย อธิบายซ้ำๆ จนกว่าเขาจะเข้าใจ และไม่ออกนอกลู่นอกทาง

·         เน้นไปที่พฤติกรรมที่ต้องการส่งเสริม ชมเชยเมื่อลูกทำได้ดีและทำพฤติกรรมที่เหมาะสม ลูกมีโอกาสที่จะเรียนรู้การควบคุมตนเอง รู้จักยับยั้งชั่งใจ มากกว่าการออกกฎที่เข้มงวดและการลงโทษเมื่อเขาทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

·         อย่าเปรียบเทียบลูกของเรากับพฤติกรรมของเด็กคนอื่น เพราะความสามารถในการควบคุมตนเองและปฏิบัติตามคำสั่งของเด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน

·         ให้ความรักและความอบอุ่นกับลูกมากพอ แม้ว่าลูกจะทำอะไรบางอย่างที่พ่อแม่ไม่ต้องการให้เขาทำ แต่พ่อแม่ก็ยังรักและยอมรับเขา อย่าดุหรือพูดว่าเขาทำสิ่งที่น่าอับอายขายหน้า เพราะจะส่งผลเสียต่อความภาคภูมิใจในตนเองของเขา เด็กที่เติบโตขึ้นโดยรู้สึกว่าพ่อแม่รัก ยอมรับ และอยู่เคียงข้างเขา ส่วนใหญ่จะอยากเอาใจพ่อแม่ อยากทำให้พ่อแม่พอใจ โดยมักจะประพฤติตามในสิ่งที่พ่อแม่อยากให้ทำ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้พ่อแม่เสียใจ

·         ใช้พลังของหนังสือเป็นตัวช่วย การเล่านิทานเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงบวก รวมถึงบทเรียนที่ตัวละครในนิทานได้รับจะช่วยให้เขาเข้าใจความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมที่ดีและไม่ดีอีกด้วย

 

นิทานปิงปิง ชุดสงสัย นิทาน EF สอนลูกเลียนแบบอย่างไรให้เหมาะสม สำหรับเด็ก 2-6 ปี

ปิงปิงเลียนแบบ นิทานภาพสำหรับเด็กวัย 2-6 ปี เรื่องราวของปิงปิงที่มีพี่น้ำผึ้งมาค้างที่บ้าน พี่ผึ้งชอบโมโห พูดจาเสียงดังกับพ่อแม่ นอกจากนี้ยังชอบนอนดึก ชอบถ่ายคลิปตัวเองเป็นประจำ แล้วยังอดอาหารให้ผอม ปิงปิงที่คอยสังเกตพี่ตลอดจึงเลียนแบบพฤติกรรมของพี่น้ำผึ้ง ทั้งนอนดึก พูดเสียงดังโวยวาย ขี้โมโหและอดข้าวเพราะอยากหุ่นดี วันหนึ่งมีญาติมาหาที่บ้าน เด็กๆ เล่นสเกตบอร์ดกัน ปิงปิงอยากเล่นเก่งเหมือนพี่ปลา แม่จึงสอนว่าต้องกินอาหารที่มีประโยชน์ และนอนแต่หัวค่ำ ปิงปิงจึงปรับตัวใหม่

นิทานปิงปิง ชุดสงสัย นิทาน EF เรื่อง ปิงปิงเลียนแบบ ช่วยพัฒนา EF ให้ลูกได้อย่างไร

·         ด้านจำเพื่อใช้งาน ปิงปิงเรียนรู้ว่า การกินอาหารดีมีประโยชน์ ทำให้ร่างกายแข็งแรง เล่นกีฬาได้เก่ง เหมือนพี่ปลา จึงกลับไปกินอาหารตามปกติ

·         ยืดหยุ่นความคิด และ ยั้งคิดไตร่ตรอง ปิงปิงเปลี่ยนใจ ไม่อยากมีรูปร่างผอมบางเหมือนพี่ผึ้งแล้ว จึงขอให้พี่ปลาสอนเล่นสเกตบอร์ด

·         ควบคุมอารมณ์ และ มุ่งเป้าหมาย แม้ปิงปิงจะล้มลุกคลุกคลานจากการฝึกเล่นสเกตบอร์ด แต่ก็ไม่ท้อถอย ยอมแพ้ เลิกเล่นกลางคัน พยายามฝึกซ้อมต่อไป

 

#นิทานปิงปิง #ปิงปิงเลียนแบบ #นิทานEF #วิธีสอนลูกเลียนแบบอย่างเหมาะสม #สอนลูกให้คิดเป็น

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้