Pass Education Co.,Ltd
โดยปกติจะตอบกลับภายในไม่กี่ชั่วโมง
พาส เอ็ดดูเคชั่น สวัสดีจ้า
เริ่มแชท

ทำไมเด็กชอบบัตรภาพ

ทำไมเด็กชอบบัตรภาพ

ทำไมเด็กเล็กชอบเล่นบัตรภาพ (FLASH CARDS)


เด็กทารกและเด็กเล็กมีความสามารถพิเศษในการเรียนรู้ได้อย่างไม่ต้องอาศัยความพยายาม ในฐานะที่เป็นพ่อแม่และผู้สอน เรามีความรับผิดชอบในการช่วยให้ลูกเราเรียนรู้เพื่อวางรากฐาน สร้างคลังและทุนความรู้ให้ลูกนำไปใช้ในอนาคต วิธีการหนึ่งที่ได้ผลดีในการสอนเด็กที่ยังพูดไม่ได้คือการให้ลูกดูบัตรคำ เกล็น โดแมน คือต้นตำหรับ ของการสอนเด็กด้วยวิธีนี้

บัตรคำหรือเเฟรชการ์ดคือบัตรขนาดใหญ่ที่มีคำศัพท์ รูปภาพ ตัวเลข หรือจำนวน บัตรมีทั้งบัตรคำจริงที่ทำจาก กระดาษและบัตรที่ทำผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และดีวีดี เด็กเล็กชอบเรียนผ่านบัตรคำเพราะนอกจากจะเป็นวิธีการกระตุ้นสมองที่ดีแล้ว การเรียนผ่านบัตรคำยังเป็นวิธีที่สนุกและทำได้ทุกวันอีกด้วย

วิธีใช้บัตรคำกับเด็กเล็ก

                หลักการสำคัญที่คุณควรตระหนักถึงเวลาที่คุณให้ลูกดูบัตรคำ  คือ รูปภาพ คำศัพท์ ตัวเลข หรือจำนวนควรจะมีขนาดใหญ่และชัดเจน ระยะเวลาในกาารสอนต้องสั้น หยุดก่อนที่ลูกจะหมดความสนใจ

นอกจากนี้ ตัวคุณเองก็ควรจะแสดงออกให้ลูกเห็นว่าคุณสนุกและมีความสุขเวลาที่แสดงบัตรคำให้ลูกดู หากคุณสนุก ลูกคุณก็จะอยากดูบัตรคำเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่าลูกจะยังอายุได้แค่สองสามเดือน ลูกก็สามารถรับรู้อารมณ์ของคุณระหว่างการสอนได้ หากคุณมีความสุขเวลาสอน ลูกก็จะมีความสุขเวลาเรียน


เด็กเล็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว

               งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้ยืนยันว่าเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจนน่าทึ่ง ชมรมพ่อแม่ขอแนะนำให้คุณให้ลูกดูบัตรคำแต่ละชุดสามครั้งต่อวัน โดยให้ดูประมาณ 5-10 วันต่อชุด อย่างไรก็ตาม คุณอาจจะไม่จำเป็นต้องให้ลูกดูติดต่อกัน 10 วันก็ได้ แต่สิ่งที่จำเป็นที่คุณควรทำคือจดบันทึกวันที่ที่คุณได้ให้ลูกดูชุดบัตรคำนั้น เพื่อที่คุณจะได้รู้ว่าคุณจะถอดคำศัพท์หรือเปลี่ยนชุดบัตรคำเมื่อไหร่

 

เมื่อลูกคุณเริ่มหมดความสนใจบัตรคำ

               การให้ดูบัตรคำซ้ำนั้นแล้วแต่เด็กแต่ละคน ให้คุณดูลูกของคุณเป็นหลัก หากลูกเบื่อบัตรคำชุดที่คุณให้ลูกดูอยู่ และไม่สนใจบัตรคำนั้นแล้ว ให้คุณเปลี่ยนหรือถอดคำที่ลูกเบื่อออกไป วิธีนี้จะช่วยรักษาความสนใจในการดูบัตรคำของลูกคุณได้


อาจจะมีบางเวลาที่ลูกอาจจะดูบัตรคำแค่รอบเดียวแต่ก็สามารถจำบัตรคำนั้นได้แล้ว หากลูกไม่มองบัตรคำหรือหันหน้าหนี คุณไม่จำเป็นต้องกังวลเพราะนี่อาจจะหมายความว่าเจ้าตัวเล็กของคุณจำบัตรคำพวกนั้นได้แล้ว!

 

ควรจะเเฟลชบัตรคำให้เร็วแค่ไหน 

               อันแรกคือหลักการของ เกล็น โดแมน และชิจิดะ เป้าหมายของการเเฟรชบัตรคำแบบนี้ควรจะเเฟรชให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะการเเฟรชเร็วเป็นการใช้ประโยชน์ของสมองซีกขวาของเด็กเล็กที่สามารถรับข้อมูลได้มหาศาลในเวลาเสี้ยววินาที เด็กเล็กสามารถเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ได้อย่างไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรเลย วิธีการนี้เหมาะกับเด็กแรกเกิดจนถึงสามขวบครึ่ง

สำหรับเด็กโต เราอาจจำเป็นต้องปรับการเเฟรชบัตรคำให้ช้าลงโดยมีช่วงเวลาพักและชี้นำให้ลูกใช้การมองดูบัตรคำ วิธีการแบบนี้จะช่วยกระตุ้นสมองซีกขวาผ่านสถานะคลื่นอัลฟา (เกิดขึ้นเมื่อเด็กผ่อนคลายแต่ตื่นตัวและพร้อมรับรู้) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันกับการนั่งสมาธิ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของสมองซีกขวาได้ที่นี่

 วิธีที่สองคือการให้ลูกดูบัตรคำคือการใช้วิธีกระตุ้นประสาทการรับรู้ (Multisensory)  หลักการของวิธีนี้คือเด็กจะสามารถซึมซับและจำข้อมูลได้ง่ายเมื่อเด็กได้รับข้อมูลผ่านประสาทการรับรู้หลายช่องทาง ซึ่งแทนที่เราจะอ่านคำศัพท์ให้ลูกฟังดังๆเวลาที่เราเเฟรชบัตร เราสามารถที่จะอ่านคำศัพท์ในขณะที่เเฟรชคำศัพท์ให้ลูกดู แล้วก็ให้ลูกดูรูปภาพที่แสดงความหมายของคำนั้นด้วย หลายๆท่านที่ใช้ โปรแกรม Little Reader อยู่ จะเห็นว่าบทเรียน Multisensory ของ Little Reader จะมีไฟล์เสียงการออกเสียง คำศัพท์พร้อมตัวหนังสือ รูปภาพ และวิดีโอคลิปประกอบพร้อมคำบรรยาย ข้อดีของวิธีนี้อีกอย่างหนึ่งคือแทนที่จะสอนแค่การอ่านออกเสียงอย่างเดียว เราสอนความหมายของคำนั้นให้ลูกด้วย


 

เรียบเรียงบทความโดย : www.thainannyclub.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้