สังคมทุกวันนี้ คนทำดีอาจไม่มีรางวัล คนทำเลวไม่ถูกลงโทษ ถูกผิดปะปนกัน ในเมื่อทุกคนมีมุมมองของตัวเอง และต่างก็มีเหตุผลของตัวเอง คุณพ่อคุณแม่จะ “เลี้ยงลูกให้คิดเป็น” และรับมือกับสังคมเทาๆ แบบนี้ได้อย่างไร?
สิ่งที่ทำให้แต่ละคนคิดต่างกัน ชอบต่างกัน ตัดสินใจต่างกัน มาจากประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เราไม่สามารถรู้ได้ว่า ที่คนอื่นคิดและตัดสินใจแบบนั้น มีเหตุผลและข้อจำกัดอย่างไรหรือไม่ สำหรับเด็กเล็กๆ ยังไม่สามารถเข้าใจมากนักว่า คนอื่นมีมุมมอง ความคิดอื่นที่แตกต่างไปจากตัวเอง และมักเข้าใจว่าทุกคนต้องชอบเหมือนฉัน เมื่อฉันเห็นเพื่อนร้องไห้ ฉันยื่นไอศกรีมของโปรดให้ เพื่อนต้องดีใจและหยุดร้องไห้
เมื่อเด็กโตขึ้นจะค่อยๆ เรียนรู้ว่า เราไม่สามารถบังคับให้ใครคิดแบบเราได้ เราไม่สามารถตัดสินจากความคิดของเราเพียงฝ่ายเดียวได้ว่า สิ่งที่เราตัดสินใจคือสิ่งที่ถูก ใครที่คิดไม่เหมือนเราคนนั้นผิด
การมองต่างมุมคืออะไร?
การมองต่างมุมคือ ความสามารถในการตัดสินใจในสถานการณ์เดียวกัน จากมุมมองที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องอาศัยการสมมติตัวเองเป็นคนอื่นในสถานการณ์นั้น และจินตนาการว่า เขาจะรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร หรือทำอย่างไร ถ้าอยู่ในสถานการณ์นั้น
เมื่อเราสามารถจินตนาการสถานการณ์นั้น ในมุมมองของคนอื่นได้ เราจะเข้าใจแรงจูงใจของเขาว่า เพราะอะไรจึงตัดสินใจแบบนั้น รวมถึงเราจะเข้าใจคนอื่นมากขึ้น และไม่ทำอะไรโดยไม่คิดถึงความรู้สึกของคนอื่น จึงเป็นความสามารถที่จะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
จะเกิดอะไรขึ้นหากลูกไม่รู้จักมองในมุมของคนอื่น?
หากไม่เรียนรู้ที่จะเข้าใจมุมมองคนอื่น ลูกอาจกลายเป็นคน ไม่เกรงใจใคร เอาแต่ใจตัวเอง และมีปัญหาในการหาเพื่อนหรือรักษามิตรภาพเอาไว้
8 เทคนิคเลี้ยงลูกให้คิดเป็นสอนลูกให้มองต่างมุม
1. ชี้ให้ลูกเห็นถึงอารมณ์ของผู้อื่น เมื่อเด็กอีกคนกำลังร้องไห้ ให้คุณพ่อคุณแม่พูดถึงความรู้สึกของเด็กคนนั้น และเหตุผลที่เขารู้สึกอย่างนั้น ข้อนี้สำคัญมาก หากลูกของเรา เป็นคนทำให้เด็กคนนั้นเสียใจโดยไม่ได้ตั้งใจ
2.ชวนลูกพูดคุยเกี่ยวกับอารมณ์ของคุณพ่อคุณแม่เอง บอกอารมณ์ความรู้สึกของของคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกได้รับรู้ตลอดทั้งวัน รวมถึงเหตุผลที่คุณรู้สึกอย่างนั้น หากคุณพ่อคุณแม่มีอารมณ์เชิงลบ ให้พูดถึงสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น
3. ช่วยลูกแก้ไขสถานการณ์ให้เพื่อนรู้สึกดีขึ้น ถ้าเพื่อนอีกคนกำลังโกรธ ให้ถามลูกว่า เขาจะช่วยเพื่อนคนนั้นได้อย่างไร คุณพ่อคุณแม่ลองให้แนวคิดบางอย่างกับลูก เช่น ชวนเพื่อนไปซื้อไอศกรีมกินกันจะได้ใจเย็นๆ ช่วยพาเพื่อนออกจากกลุ่มไปก่อน หรือหาอะไรสนุกๆ ทำกันดีกว่า
4. ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เด็กเล็กเรียนรู้ได้มากจากการดู ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่แสดงให้ลูกเห็นคุณค่าของการมองต่างมุม ลูกจะเข้าใจมุมมองของผู้อื่นได้ดีขึ้น
5. ให้เวลาในการพูดคุยกับลูก สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน อาจจะยากที่จะเข้าใจความรู้สึกของเด็กคนอื่นๆ เช่น ทำไมต้องแบ่งปันของเล่นชิ้นโปรดให้เพื่อน คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้เวลาในการพูดคุยมากเท่าที่จะมากได้
6. ชวนลูกพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกและมุมมองของตัวเอง ว่าเขารู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์หนึ่ง เขาคิดว่าคนอื่นจะรู้สึกอย่างไร? ความรู้สึกของเขาและของเพื่อนคนอื่นดูเหมือนจะส่งผลกระทบซึ่งกันและกันอย่างไร ทำไม
7. สอนลูกว่าการเข้าใจคนอื่นไม่จำเป็นต้องเห็นเหมือนกัน แต่เป็นการยอมรับว่าคนอื่นคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร ต้องการอะไร หรือต้องการอะไร
8. ชวนลูกอ่านหนังสือ พูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกของตัวละครในหนังสือ ระบุอารมณ์แล้วพูดถึงสาเหตุที่ตัวละครรู้สึกอย่างนั้นหรือรู้ได้อย่างไรว่าเขารู้สึกอย่างนั้น เช่น เขายิ้ม เขาพบของเล่นของเขา ฯลฯ
สำหรับเด็กๆ หนังสือนิทานเป็นตัวช่วยอย่างดีในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจของลูกในเรื่องต่างๆ หากคุณพ่อคุณแม่อยากสอนให้ลูกเข้าใจมุมมองของผู้อื่น เลี้ยงลูกให้คิดเป็น รู้จักมองต่างมุม “ชุดนิทานต่างมุม” ให้ข้อคิดหลายมุมของตัวละคร ผ่านมุมมองของสัตว์ 4 ชนิด คือ แม่ไก่ ลูกไก่ จิ้งจอก และหมาป่า ที่คิดต่างกันในสถานการณ์เดียวกัน นิทานชุดนี้ช่วยให้เด็กๆ เห็นว่า ในสถานการณ์เดียวกัน แต่สัตว์แต่ละชนิดตัดสินใจต่างกัน ด้วยเหตุผลและข้อจำกัดที่ต่างกัน หากเราเข้าใจมุมมองของสัตว์แต่ละชนิด ก็จะช่วยปลูกฝังการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้
ชุดนิทานต่างมุม มี 4 เล่ม ได้แก่
1. ลูกฉันหายไป (รางวัลหนังสือดีเด่น สพฐ. / คุณหมอประเสริฐแนะนำ)
2. แม่จ๋าอย่าทิ้งหนู
3. ลูกใครหว่า
4. ใครก็ได้ช่วยลูกฉันที
หนังสือชุดนี้ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะเข้าใจและเห็นใจผู้อื่น เรียนรู้ทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ฝึกคิดวิเคราะห์ คิดยืดหยุ่น ส่งเสริมจินตนาการ และในตอนสุดท้ายเด็ก ๆ จะได้ช่วยคิดตัดสินใจว่าถ้าเป็นตัวละครตัวนั้นจะทำอย่างไรดี
เด็กๆ จะสนุกกับการคิดวิเคราะห์ รู้จักใช้เหตุผลตัดสินใจ พัฒนาทักษะสมอง EF เปิดใจรับฟังผู้อื่น เรียนรู้การคิดต่าง คิดเชื่อมโยง คิดสร้างสรรค์ และยอมรับเหตุผลความจำเป็นที่แตกต่างกันของแต่ละคน เข้าใจและเห็นใจกันมากขึ้น ช่วยแก้ปัญหาลูกเอาแต่ใจตัวเอง ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง
การที่คุณพ่อคุณแม่ สอนลูกให้คิดเป็น ลูกจะเข้าใจว่าโลกใบนี้ไม่ได้มีแค่ขาวกับดำ ผิดกับถูก และไม่มีคำตอบสำเร็จรูปไปเสียทุกเรื่อง การที่ทุกคนเข้าใจมุมมองคนอื่น รู้จักคิดต่างมุม เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ว่าเหตุผลอะไรที่ทำให้เขาคิดและทำแบบนั้น เช่นนี้จะทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจกันมากขึ้น และอยู่ร่วมกันได้ในสังคมเทาๆ นี้ได้อย่างสันติสุข