Pass Education Co.,Ltd
โดยปกติจะตอบกลับภายในไม่กี่ชั่วโมง
พาส เอ็ดดูเคชั่น สวัสดีจ้า
เริ่มแชท

ตั้งสติก่อนตำหนิลูก

ตั้งสติก่อนตำหนิลูก

โดยธรรมชาติแล้ว เราไม่ชอบให้ใครติหรือว่าหรอกค่ะ ถึงจะเป็นคำติที่เจตนาดีก็ตาม แต่ถ้าไม่มีศิลปะในการพูดคนฟังก็อาจขุ่นเคืองหรือต่อต้านได้ง่ายๆ ยิ่งในเด็กเล็กๆ พ่อแม่ต้องยิ่งใส่ใจมากหากจะต่อว่าหรือตักเตือนเขา วันนี้เรามีวิธีตำหนิลูกง่ายๆ อย่างสร้างสรรค์มาฝากกันค่ะ

1. ลูกทำผิดให้ตำหนิที่พฤติกรรมของเขา ไม่ใช่ตำหนิที่ตัวเขา เช่น ลูกลอกการบ้านเพื่อน พูดคำหยาบ แกล้งเพื่อน ขโมยของเพื่อน แม่ไม่ควรพูดว่า “ลูกแย่มากที่ทำตัวแบบนี้” แต่ควรพูดว่า “แม่เสียใจที่ลูกทำแบบนี้ และเพื่อนก็คงเสียใจเหมือนกัน...” การตำหนิที่พฤติกรรม จะแสดงให้ลูกรู้ว่า พ่อแม่ไม่ชอบ ไม่ยอมรับพฤติกรรมไม่ดี ไม่น่ารักของเขา ไม่ได้แปลว่า เกลียดหรือไม่รักเขา

2. ให้โอกาสลูกอธิบายเหตุผลก่อนตำหนิเขา (แม้บางครั้งพ่อแม่อาจรู้ว่าลูกกำลังโกหกอยู่ก็ตาม) ตรงนี้จะช่วยทำให้ลูกเชื่อใจและมั่นใจที่จะเล่าหรืออธิบายว่าทำไมจึงทำแบบนั้น ขณะฟังพ่อแม่ก็ต้องแสดงท่าทีตั้งใจฟัง นิ่ง สงบ เสร็จแล้วลูกจะถูกหรือผิด เราจึงค่อยๆ ให้เหตุผลว่า อะไรควรทำหรือไม่ควร ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

3. ไม่ตำหนิหรือเปรียบเทียบลูกต่อหน้าคนอื่น เพราะเด็กจะรู้สึกเสียหน้าและอาย ซึ่งไม่มีเกิดผลดีอะไร ตรงกันข้ามถ้าเมื่อไหร่ลูกทำดีก็ต้องชมลูกทันที เช่นเดียวกันชมที่พฤติกรรมของเขาเป็นสำคัญ เช่น ลูกช่วยคุณยายล้างผักเก่งมากจ้ะ น่ารักจัง”

คำพูดแนะนำที่อ่อนโยนและเข้าใจมีส่วนสำคัญมากต่อพฤติกรรมของลูก ไม่ว่าคำตักเตือน หรือคำชม พ่อแม่จึงควรเลือกใช้คำพูดที่ดีต่อใจลูกเสมอ

(ขอบคุณภาพประกอบจาก freepik.com)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้